วันที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ.2562
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ (Teaching Mathematics Basic from Natural Materials)
ผู้เขียน : ดร.นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
ระดับ : อนุบาล หมวดหมู่ : เกี่ยวกับอนุบาล
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ (Teaching Mathematics Basic from Natural Materials)
ผู้เขียน : ดร.นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
ระดับ : อนุบาล หมวดหมู่ : เกี่ยวกับอนุบาล
การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ (Teaching Mathematics Basic Skills from Natural Materials)หมายถึง หมายถึง การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวนจากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ใบไม้ ดอกไม้ ฯลฯ และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ซากกุ้ง ปู ฯลฯ ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ภาพ การประดิษฐ์ การสร้างภาพ ฯลฯ
การนำวัสดุจากธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ที่มีอยู่รอบตัวมาจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพบนก้อนหิน การวาดภาพบนใบไม้ การร้อยพวงมาลัยจากดอกดาวเรือง การสานจากใบมะพร้าว การสร้างภาพจากเมล็ดพืช การประดิษฐ์ตุ๊กตาจากเปลือกข้าวโพด การสร้างภาพด้วยเกล็ดปลา การประดิษฐ์โมบายด้วยเปลือกหอย ฯลฯ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเหล่านี้ นอกจากช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกผ่านสื่อต่างๆออกมาเป็นผลงานทางศิลปะแล้ว สื่อวัสดุธรรมชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่าง สี ขนาด น้ำหนัก พื้นผิว เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ ทั้งทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ การนับ การจัดกลุ่ม การจัดลำดับ การเรียนรู้ค่าและจำนวน ฯลฯ การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างไปจากการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน หน้าที่ และความสัมพันธ์ของจำนวนความเป็นไปได้ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะเน้นการจำแนกสิ่งต่างๆ การเปรียบเทียบและการเรียนรู้สัญลักษณ์ของคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้จากกิจกรรมปฏิบัติการ ประสบการณ์จริงทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น เด็กจะเรียนรู้จำนวนมากกว่า น้อยกว่าจากการแบ่งของเล่น การแบ่งสิ่งของที่พ่อแม่ซื้อให้ การแบ่งผลไม้ เด็กจะเรียนรู้ว่าตนเองได้ผลไม้มากกว่าพี่ชายจากการสังเกตว่าผลไม้มีปริมาณมากกว่าหรือกองใหญ่กว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่องตัวเลขของเด็กจะพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเริ่มจากการที่เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากการคิดของตน แล้วค่อยๆพัฒนาถึงกระบวนการคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง นอกจากนี้กิจกรรมส่งเสริมทางคณิตศาสตร์ที่ครูจัดขึ้นให้เด็กที่โรงเรียน จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างดี มุ่งเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การมีส่วนร่วมโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญเพื่อให้เด็กได้สร้างความรู้และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักการค้นคว้าและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนานเพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในขั้นสูงต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น